เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา 2/2557 Topic: ทักษะและกระบวนการเรียนรู้ทางคณิตฯ
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
การสอนคณิตศาสตร์เพื่อมุ่งให้เกิดทักษะที่สำคัญ ได้แก่ ทักษะการแก้ปัญหา (Problem Solving), ทักษะการมองเห็นภาพหรือรูปแบบที่ซ่อนอยู่ (Patterning), ทักษะการคิดสร้างสรรค์และการให้เหตุผล (Creative Thinking and Reasoning) และทักษะการสื่อสาร (Communication) เพื่อให้เกิดความร่วมมือและพบวิธีหรือคำตอบเอง (Meta conition)

Week 2-5 : การแปลงทางคณิตฯ


Web เชื่อมโยงเนื้อหาเกี่ยวกับการแปลงที่ครูจะใช้สอนเด็กนักเรียนในหน่วยนี้

เป้าหมายรายสัปดาห์นักเรียนเข้าใจและสามารถสื่อสารและนำเสนอโดยการอธิบายลักษณะการแปลง  อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างรูปต้นแบบและรูปที่ได้จากการเลื่อนขนาน  การสะท้อน  การหมุน  การขยายและการย่อ  ได้  และนักเรียนสามารถแก้ปัญหา บอกพิกัดของรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการเลื่อนขนาน  การสะท้อน  การหมุน  การขยายและการย่อบนระนาบพิกัดฉากได้  สามารถเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ โดยนำสมบัติเกี่ยวกับการเลื่อนขนาน  การสะท้อน  การหมุน  การขยายและการย่อไปใช้ได้
Week
Input
Process
Output
Outcome






2 – 5

19 ม.ค. 2558
ถึง
13 ก.พ. 2558


โจทย์
การแปลงทางเรขาคณิต
Key  Questions
- นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจอะไรบ้างเกี่ยวกับการแปลงทางเรขาคณิตฯ
- ให้นักเรียนสร้างรูปสามเหลี่ยม กำหนดจุด A(3,0) จุดB(5,4) และจุด C(-1,6) รูปจะเป็นอย่างไร
- ให้นักเรียนสร้างรูปสามเหลี่ยม กำหนดจุด A(3,0) จุดB(5,4) และจุด C(-1,6) รูปจะเป็นอย่างไร
- กำหนดรูปสามเหลี่ยม ABC มีจุด A(3,0) จุดB(5,4) และจุด C(-1,6) ให้วาดภาพรูปสามเหลี่ยม A’B’C’ ที่เกิดจากการเลื่อนขนานรูปสามเหลี่ยม ABC ไปทางซ้าย 3 หน่วย และเลื่อนขึ้น 2 หน่วย รูปที่เกิดขึ้นจะเป็นอย่างไร
- กำหนดรูปสามเหลี่ยมABC ซึ่งมีจุด A(2,3) , B(7,1) และจุด C(5,5) ให้เขียนรูปรูปสามเหลี่ยม A’B’C’ ซึ่งเป็นรูปสะท้อนของรูปรูปสามเหลี่ยม ABC โดยมีแกนY เป็นแกนสะท้อน รูปที่เกิดขึ้นจะเป็นอย่างไร
- นักเรียนคิดว่าการแปลงทางเรขาคณิตเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวันเราอย่างไร
เครื่องมือคิด
Show and Share
- นำเสนอวิธีคิดเกี่ยวกับวิธีคิดการหาคำตอบการเลื่อนขนาน / การสะท้อน /การหมุน / การย่อ/ขยาย
- นำเสนอความเข้าใจเกี่ยวกับชิ้นงานสรุปคณิต(ก่อนเรียน) และความสำคัญของการเรียนรู้เกี่ยวกับการแปลงทางเรขาคณิต
Wall Thinking ติดชิ้นงานความเข้าใจใบงาน / การ์ตูนช่อง / Mind mapping
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ภาพเกี่ยวกับการเลื่อนขนาน / การสะท้อน /การหมุน / การย่อ/ขยาย
- กระดาษกราฟ / สมุดกราฟ
- โปรแกรม GSP
- เส้นเชือก / แผ่นไม้ / กระจก
ชง :  ครูและนักเรียนร่วมทบทวนกิจกรรมเกี่ยวกับทบทวนการบ้านปิดเทอม Flip classroom การแปลงทางเรขาคณิต
- นักเรียนร่วมเล่าเกี่ยวกับความรู้เดิมที่เรียนผ่านมา ครูยกตัวอย่างโจทย์เกมกิจกรรมเดิม
ทบทวนและเตรียมความพร้อมของผู้เรียน
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจอะไรบ้างเกี่ยวกับการแปลงทางเรขาคณิตฯ?(หลังจากครูให้นักเรียนทุกคนสืบค้นข้อมูลมาก่อนหน้านี้)
เชื่อม : นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการแปลงทางเรขาคณิตฯ
 - นักเรียนร่วมสอบถามความเข้าใจ นำเสนอเนื้อหาที่เพื่อนนำเสนอยังไม่ครบ เพิ่มเติมเต็มเนื้อหาของนักเรียนแต่ละคนที่แตกต่างกัน
ใช้ : ครูให้นักเรียนทุกคนสร้างชิ้นงานสรุปองค์ความรู้(ก่อนเรียน) เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิตฯ
เชื่อม : นำเสนอชิ้นงาน ถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นเรื่องการแปลง
ชง : ครูทบทวนกิจกรรมเรื่องการสร้างกราฟ โดยครูนำกระดาษกราฟมาให้นักเรียนลองวาดภาพตาม
- ครูกำหนดโจทย์ปัญหาเรื่องกราฟให้นักเรียนลองกำหนดจุดลงในกระดาษตามคำตอบต่อไปนี้ “ให้นักเรียนสร้างรูปสามเหลี่ยม กำหนดจุด A(3,0) จุดB(5,4) และจุด C(-1,6) รูปจะเป็นอย่างไร?”

เชื่อม : ให้นักเรียนออกแบบชิ้นงานลงกระดาษกราฟของแต่ละคน เพื่อให้มองเห็นรูปร่างที่ได้สร้างขึ้นว่ามีรูปร่างอย่างไร
- นักเรียนแลกเปลี่ยนข้อมูลปรึกษาเพื่อนๆที่สร้างภาพจากความเข้าใจของแต่ละคน
- นำเสนอรูปที่แต่ละคนสร้างรูปสามเหลี่ยมลงในกระดาษกราฟที่ครูให้ไป และเพื่อนๆตรวจเช็คคำตอบของเพื่อนจากชิ้นงาน

การเลื่อนขนาน
ชง : ครูกำหนอโจทย์ปัญหาการคิดให้นักเรียน “ให้นักเรียนเลื่อนรูปสามเหลี่ยม ABC ไปทางขาว 4 หน่วย รูปที่เกิดขึ้นจะเป็นอย่างไร?”
 โจทย์..
ภาพจริง
เชื่อม : ให้นักเรียนออกแบบชิ้นงานลงกระดาษกราฟของแต่ละคน เพื่อให้มองเห็นรูปร่างที่ได้สร้างขึ้นว่ามีรูปร่างอย่างไร
- นักเรียนแลกเปลี่ยนข้อมูลปรึกษาเพื่อนๆที่สร้างภาพจากความเข้าใจของแต่ละคน
- นำเสนอรูปที่แต่ละคนสร้างรูปสามเหลี่ยมลงในกระดาษกราฟที่ครูให้ไป และเพื่อนๆตรวจเช็คคำตอบของเพื่อนจากชิ้นงาน
ใช้ : ครูให้โจทย์ให้นักเรียนสร้างชิ้นงานแก้ปัญหาโจทย์ “กำหนดรูปสามเหลี่ยม ABC มีจุด A(3,0) จุดB(5,4) และจุด C(-1,6) 

ให้วาดภาพรูปสามเหลี่ยม A’B’C’ ที่เกิดจากการเลื่อนขนานรูปสามเหลี่ยม ABC ไปทางซ้าย 3 หน่วย และเลื่อนขึ้น 2 หน่วย รูปที่เกิดขึ้นจะเป็นอย่างไร?”

การสะท้อน
 ชง : ครูกำหนอโจทย์ปัญหาการคิดให้นักเรียน “ให้เขียนจุด P’ ซึ่งเป็นจุดที่เกิดจากการสะท้อนของจุด P ข้ามเส้นสะท้อน m จุดที่เกิดขึ้นจะปรากฏในตำแหน่งใด?”
 เชื่อม : ให้นักเรียนออกแบบชิ้นงานลงกระดาษกราฟของแต่ละคน เพื่อให้มองเห็นรูปร่างที่ได้สร้างขึ้นว่ามีรูปร่างอย่างไร
- นักเรียนแลกเปลี่ยนข้อมูลปรึกษาเพื่อนๆที่สร้างภาพจากความเข้าใจของแต่ละคน
- นำเสนอรูปที่แต่ละคนสร้างรูปสามเหลี่ยมลงในกระดาษกราฟที่ครูให้ไป และเพื่อนๆตรวจเช็คคำตอบของเพื่อนจากชิ้นงาน
ใช้ : ครูให้โจทย์ให้นักเรียนสร้างชิ้นงานแก้ปัญหาโจทย์ “กำหนดรูปสามเหลี่ยมABC ซึ่งมีจุด A(2,3) , B(7,1) และจุด C(5,5) 

ให้เขียนรูปรูปสามเหลี่ยม A’B’C’ ซึ่งเป็นรูปสะท้อนของรูปรูปสามเหลี่ยม ABC โดยมีแกนY เป็นแกนสะท้อน รูปที่เกิดขึ้นจะเป็นอย่างไร?”

การหมุน
ชง : ครูกำหนอโจทย์ปัญหาการคิดให้นักเรียน “ให้นักเรียนเลื่อนรูปสามเหลี่ยม ABC ไปทางขาว 4 หน่วย รูปที่เกิดขึ้นจะเป็นอย่างไร?”

เชื่อม : ให้นักเรียนออกแบบชิ้นงานลงกระดาษกราฟของแต่ละคน เพื่อให้มองเห็นรูปร่างที่ได้สร้างขึ้นว่ามีรูปร่างอย่างไร
- นักเรียนแลกเปลี่ยนข้อมูลปรึกษาเพื่อนๆที่สร้างภาพจากความเข้าใจของแต่ละคน
- นำเสนอรูปที่แต่ละคนสร้างรูปสามเหลี่ยมลงในกระดาษกราฟที่ครูให้ไป และเพื่อนๆตรวจเช็คคำตอบของเพื่อนจากชิ้นงาน
ใช้ : ครูให้โจทย์ให้นักเรียนสร้างชิ้นงานแก้ปัญหาโจทย์ “กำหนดรูปสี่เหลี่ยม ABCD มีจุด A(3,0) จุดB(5,4) และจุด C(-1,6)  ?”


*ส่วนในเนื้อหาการย่อ / ขยาย
เกมการคิดทางคณิตฯ นักเรียนและคุณครูรวมเรียนรู้ผ่านกิจกรรม
GSP สร้างสรรค์ฝึกการสร้างรูปเรขาคณิตฯ

- ครูฝากคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าการแปลงทางเรขาคณิตเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวันเราอย่างไร?”
ภาระงาน
- นักเรียนร่วมทบทวนกิจกรรมการเรียนรู้ เกี่ยวกับการแปลงทางเรขาคณิตฯ (หาข้อมูลมาแลกเปลี่ยนจากช่วงปิดเทอม)
- นักเรียนนำเสนอความเข้าใจวิธีคิดที่นำเสนอต่อครูและเพื่อนๆ
- เรียนรู้การทำงานของโปรแกรมGSP และการเขียนรูปร่างลงในกระดาษกราฟ
- ทำชิ้นงานการ์ตูน/ใบงานเกี่ยวกับการเลื่อนขนาน / การสะท้อน /การหมุน / การย่อ/ขยาย
- สรุปการเรียนรู้ในหน่วยการแปลงทางเรขาคณิต

ชิ้นงาน
- ใบงานเกี่ยวกับแปลงทางเรขาคณิต
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการแปลงทางเรขาคณิต
- สร้างชิ้นงานถ่ายทอดความเข้าใจ(นิทานช่อง, ชาร์ต, Mind mapping ฯลฯ)
ความรู้
นักเรียนเข้าใจและสามารถสื่อสารและนำเสนอโดยการอธิบายลักษณะการแปลง  อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างรูปต้นแบบและรูปที่ได้จากการเลื่อนขนาน  การสะท้อน  การหมุน  การขยายและการย่อ  ได้  และนักเรียนสามารถแก้ปัญหา บอกพิกัดของรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการเลื่อนขนาน  การสะท้อน  การหมุน  การขยายและการย่อบนระนาบพิกัดฉากได้  สามารถเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ โดยนำสมบัติเกี่ยวกับการเลื่อนขนาน  การสะท้อน  การหมุน  การขยายและการย่อไปใช้ได้
ทักษะ
ทักษะICT
นักเรียนได้เรียนรู้วิธีการสร้างรูปเรขาคณิตจากการแปลงทางเรขาคณิต
ทักษะการสื่อสาร / การให้เหตุผล
การมีส่วนร่วมในการแสนอความคิดเห็น ในวิธีคิดที่แปลกใหม่ การอภิปรายเกี่ยวกับการแปลงทางเรขาคณิต
ทักษะการคิดวิเคราะห์
นักเรียนสามารถคิดเชิงวิเคราะห์ให้เห็นความสัมพันธ์จากการแปลงทางเรขาคณิตและถ่ายทอดความเข้าใจให้ผู้อื่นเข้าใจ
ทักษะการแก้ปัญหา
นักเรียนได้ฝึกการแก้ปัญหาโจทย์เกี่ยวกับการแปลงทางเรขาคณิต โจทย์ที่ท้าทายมากขึ้น และสามารถสร้างโจทย์ให้ผู้อื่นฝึกคิดได้
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ช่วยออกแบบวิธีคิด ร่วมปรึกษาความคิดเห็นของตนเองกับเพื่อนๆ ช่วยเหลือกันและกันในการเรียนรู้ สร้างโจทย์ใหม่ให้ผู้อื่นฝึกทำละเข้าใจได้

คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้
 -  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย ทำงานอย่างมีความประณีต
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน ทั้งงานกลุ่มและงานเดียว ทุกคนทำงานอย่างเต็มความสามารถ



กิจกรรมการเรียนรู้
ในสัปดาห์นี้นักเรียนแต่ละกลุ่มเขียนวางโครงเรื่องที่จะถ่ายทอดความเข้าใจคณิตฯ ต่อผู้อื่น นักเรียนได้ฝึกการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มย่อยและช่วยกันสร้างสรรค์บทละครเพื่อนำเสนอต่อผู้อื่น
ส่วนในเรื่อง การแปลง นักเรียนจะได้เรียนรู้คู่ขนานต่อเนื่องจากกิจกรรมนี้ครับ
เพราะเห็นว่ากิจกรรมต่อเนื่อง อยากให้ผู้เรียนได้เรียนต่อ เพื่อประสานงานกลุ่มอย่างต่อเนื่อง และนักเรียนสนุกสนานในระหว่างการสักซ้อมทุกๆกิจกรรมกลุ่ม จากกิจกรรม นิทานสร้างทีม


เรียนรู้จากความยาก _ โปรแกรมคณิตศาสตร์ Geometer 's Sketchpad (GSP)
_เรื่องนี้ตอนแรกครูวิตกครุ่นคิดหากลวิธีการสอนคณิตเรื่องนี้หรือค้นคิดสื่อประกอบการสอนที่เหมาะสมกับวัยผู้เรียนและท้าทายให้พวกเขาค้นคิดหาวิธีการแก้ปัญหาต่างๆ
จนกระทั่ง..นึกขึ้นได้ว่าตอนเรียนมหาลัยฯ ปี 2 ผมเริ่มต้นเรียนรู้การแปลงทางเรขาคณิตฯ เรียนรู้กับ ผศ.ทวีชัย สิทธิศร Taweechai Sittisorn
มองเห็นภาพการแปลงที่มองเห็นชัดขึ้น และทำความเข้าใจได้ง่าย แต่ต้องผ่านการคิดคำนวณหลายขั้นตอน

ลองนำมาใช้สอนพี่ ม.1 เรียนรู้ สู่ความเข้าใจ และใช้ได้จริง ผลิกแผลงโจทย์ที่กำหนดให้ได้
ผมให้เด็กแต่ละคนเข้ามาอธิบายความเข้าใจเดี่ยว และกำหนดโจทย์ที่แปลกใหม่ๆ ให้เรื่อย เห็นความพยายามของเด็กๆ ทั้ง 17 คน ช่วยเหลือกันอย่างดีเยี่ยม บางคนเรียนรู้เองจากสื่อต่างๆ นักเรียนทุกคนเกิดทักษะสำคัญทางคณิตศาสตร์ ตาม ค 6.1

*เด็กๆ สนุกกับโจทย์ที่ท้าทายพวกเขา การแสวงหาแหล่งที่จะเรียนรู้ เกิดขึ้นในตัวแต่ละคน
ไม่กลัวโจทย์ที่ยากๆ

2 ความคิดเห็น:

  1. Week 2:ในสัปดาห์นี้นักเรียนแต่ละกลุ่มเขียนวางโครงเรื่องที่จะถ่ายทอดความเข้าใจคณิตฯ ต่อผู้อื่น นักเรียนได้ฝึกการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มย่อยและช่วยกันสร้างสรรค์บทละครเพื่อนำเสนอต่อผู้อื่น
    ส่วนในเรื่อง การแปลง นักเรียนจะได้เรียนรู้คู่ขนานต่อเนื่องจากกิจกรรมนี้ครับ
    เพราะเห็นว่ากิจกรรมต่อเนื่อง อยากให้ผู้เรียนได้เรียนต่อ เพื่อประสานงานกลุ่มอย่างต่อเนื่อง และนักเรียนสนุกสนานในระหว่างการสักซ้อมทุกๆกิจกรรมกลุ่ม จากกิจกรรม ‘นิทานสร้างทีม’

    ตอบลบ
  2. เรียนรู้จากความยาก _ โปรแกรมคณิตศาสตร์ Geometer 's Sketchpad (GSP)
    _เรื่องนี้ตอนแรกครูวิตกครุ่นคิดหากลวิธีการสอนคณิตเรื่องนี้หรือค้นคิดสื่อประกอบการสอนที่เหมาะสมกับวัยผู้เรียนและท้าทายให้พวกเขาค้นคิดหาวิธีการแก้ปัญหาต่างๆ
    จนกระทั่ง..นึกขึ้นได้ว่าตอนเรียนมหาลัยฯ ปี 2 ผมเริ่มต้นเรียนรู้การแปลงทางเรขาคณิตฯ เรียนรู้กับ ผศ.ทวีชัย สิทธิศร Taweechai Sittisorn
    มองเห็นภาพการแปลงที่มองเห็นชัดขึ้น และทำความเข้าใจได้ง่าย แต่ต้องผ่านการคิดคำนวณหลายขั้นตอน
    ลองนำมาใช้สอนพี่ ม.1 เรียนรู้ สู่ความเข้าใจ และใช้ได้จริง ผลิกแผลงโจทย์ที่กำหนดให้ได้
    ผมให้เด็กแต่ละคนเข้ามาอธิบายความเข้าใจเดี่ยว และกำหนดโจทย์ที่แปลกใหม่ๆ ให้เรื่อย เห็นความพยายามของเด็กๆ ทั้ง 17 คน ช่วยเหลือกันอย่างดีเยี่ยม บางคนเรียนรู้เองจากสื่อต่างๆ นักเรียนทุกคนเกิดทักษะสำคัญทางคณิตศาสตร์ ตาม ค 6.1
    *เด็กๆ สนุกกับโจทย์ที่ท้าทายพวกเขา การแสวงหาแหล่งที่จะเรียนรู้ เกิดขึ้นในตัวแต่ละคน
    ไม่กลัวโจทย์ที่ยากๆ

    ตอบลบ