เป้าหมายการเรียนรู้
โดยสาระสำคัญของการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา มีการจัดการเรียนรู้เพื่อเป็นพื้นฐาน ในการเรียนศาสตร์อื่น ที่มีความยากมากยิ่งขึ้นและ เพื่อสร้างกระบวนการคิดเชิงตัวเลข
เป้าหมายการสอนคณิตศาสตร์ แต่ละหน่วยใน Quarter 4/2557
หน่วย
|
เป้าหมายการสอนแต่ละ หน่วย
|
เหตุผล
|
ทบทวน – ทักษะการคิด
|
นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะและกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ เชื่อมโยงกับความรู้ มาประยุกต์ใช้แก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ได้
|
เป็นการเตรียมความพร้อมพื้นฐานเกี่ยวกับทักษะให้กับนักเรียน ม.1 ที่กำลังเริ่มต้นมาสู่ระดับพี่ๆ มัธยม
|
การแปลงทางคณิตฯ
|
นักเรียนเข้าใจและสามารถสื่อสารและนำเสนอโดยการอธิบายลักษณะการแปลง
อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างรูปต้นแบบและรูปที่ได้จากการเลื่อนขนาน การสะท้อน
การหมุน การขยายและการย่อ ได้ และนักเรียนสามารถแก้ปัญหา
บอกพิกัดของรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการเลื่อนขนาน
การสะท้อน การหมุน การขยายและการย่อบนระนาบพิกัดฉากได้ สามารถเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ
โดยนำสมบัติเกี่ยวกับการเลื่อนขนาน การสะท้อน การหมุน
การขยายและการย่อไปใช้ได้
|
ในเรื่องการวัดสาระที่ 2 และสาระที่ 3 นักเรียนจะได้ใช้ทักษะทางคณิตศาสตร์ต่างๆ
มาประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้ในหน่วยนี้
เพราะในหน่วยนี้นักเรียนจะได้ใช้ศาสตร์ทางคอมพิวเตอร์มาประกอบด้วย โปรแกรมGSP
จะมาช่วยในการเรียนเรื่องนี้คู่ขนาน
|
เศษส่วนและทศนิยม
|
นักเรียนเข้าใจและสามารถสื่อสาร นำเสนอ
และเชื่อมโยงในการบวก ลบ คูณและหารเศษส่วนได้
สามารถแก้ปัญหาให้เหตุผล
มีความคิดสร้างสรรค์ในการนำความรู้เรื่องการบวก ลบ คูณและหารเศษส่วนไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริงได้
และสามารถสื่อสาร นำเสนอและเชื่อมโยงในการบวก ลบ คูณ และหารทศนิยมได้ สามารถแก้ปัญหา
ให้เหตุผล มีความคิดสร้างสรรค์ในการนำความรู้เรื่องการบวก ลบ คูณ
และหารทศนิยมไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริงได้ |
เป็นเรื่องที่ท้าทายมากขึ้น
เพราะหน่วยนี้นักเรียนจะได้นำไปใช้ในโจทย์ทางคณิตศาสตร์ในเรื่องต่างๆ เช่น
โจทย์ปัญหา การแก้สมการต่างๆ
การเรียนรู้ของพี่
ม.1 ในหน่วยนี้จะเป็นเรื่องที่ลึกกว่าเดิมและโจทย์ส่วนใหญ่จะเป็นการนำความเข้าใจของผู้เรียนมาประยุกต์แก้ปัญหาร่วมกัน |
การนำเสนอข้อมูล(2)
|
นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับการสื่อสารโดยบอกความหมายของข้อมูลและการนำเสนอข้อมูลและเชื่อมโยงความรู้อ่านตารางนำเสนอข้อมูล
แผนภูมิแท่งและกราฟได้ รวมทั้งนำเสนอข้อมูลด้วยตาราง แผนภูมิแท่ง และกราฟได้
สามารถกำหนดประเด็น เขียนข้อคำถาม
กำหนดวิธีการศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูล
และปรับใช้ความรู้กับการชีวิตประจำวันได้
|
หน่วยสุดท้ายของแต่ละภาคเรียน
นักเรียนจะรวบรวมความเข้าใจทุกๆศาสตร์
ของแต่ละหน่วยมาใช้แก้ปัญหาและที่สำคัญกว่าคือการนำเสนอข้อมูลให้ผู้อื่นรับรู้และเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่นักเรียนเรียนรู้ผ่านมาทุกๆ
เนื้อหา
|
ปฏิทินและวิเคราะห์มาตรฐานการจัดกิจกรรมวิชาคณิตศาสตร์ Quarter 4
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557
ปฏิทินและวิเคราะห์มาตรฐานการจัดกิจกรรมวิชาคณิตศาสตร์ Quarter 4
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่
1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557
Week
|
Input
|
Possess
|
Output
|
Outcome
|
1
|
โจทย์
ทบทวนกิจกรรมการคิด
ก่อนเรียนQuarter 4
Key Question
นักเรียนมีวิธีคิดอย่างไร /
ใครมีวิธีคิดแตกต่างจากโจทย์นี้อย่างไรบ้าง
เครื่องมือคิด
Show and Share
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- คอมพิวเตอร์ power point
/ GSP
|
- ครูและนักเรียนร่วมทบทวนกิจกรรม
- นักเรียนร่วมเล่าเกี่ยวกับความรู้เดิมที่เรียนผ่านมา
และร่วมแลกเปลี่ยนวิธีคิด
- ครูกระตุ้นด้วยคำถามการคิด “นักเรียนมีวิธีคิดอย่างไร /
ใครมีวิธีคิดแตกต่างจากโจทย์นี้อย่างไรบ้าง?”
- นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็น และนำเสนอวิธีคิดต่างๆ
- ครูช่วยจัดระบบข้อมูล
ชวนนักเรียนแต่ละคนคิด เพื่อให้เห็นทักษะต่างๆ ที่ซ่อนอยู่ในโจทย์แต่ละข้อ กระตุ้นด้วยคำถามให้นักเรียนช่วยแสดงความคิดเห็น
-
ครูแจกแผ่นโจทย์การคิดแผ่นเล็กที่ครูตัดเตรียมมาให้นักเรียนใช้ฝึกทำ
- นักเรียนแต่ละคนรับโจทย์การคิดที่ต่างกัน
ไปทำลงในสมุด
|
ภาระงาน
- ร่วมทบทวนกิจกรรมการเรียนรู้การบ้านปิดเทอม
- แก้ปัญหาโจทย์การคิด
- ทำชิ้นงานจากโจทย์ใบงานที่ให้
ชิ้นงาน
- สมุดทดคิดทางคณิตฯ
- แผ่นโจทย์การคิด
- ใบงาน / โจทย์จากโปรแกรมGSP
|
ความรู้
ทักษะและกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ เชื่อมโยงกับความรู้
มาประยุกต์ใช้แก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ได้
ทักษะ
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
- ทักษะการให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการเห็นแบบรูป
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
- มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
|
Week
|
Input
|
Possess
|
Output
|
Outcome
|
-นักเรียนแต่ละคนนำเสนอกระบวนการคิด
การแก้ปัญหาโจทย์ดังกล่าว
- ครูตั้งคำถามให้นักเรียนอธิบาย
และจัดระบบข้อมูลวิธคิดที่เชื่อมโยง
- ให้เพื่อแต่ละคนได้ซักถาม
ตรวจสอบความเข้าใจของเพื่อนที่อธิบายวิธีคิด / เพื่อนๆ
ที่อาจมีวิธีคิดต่างได้นำเสนอวิธีคิด แลกเปลี่ยนกันและกัน
- ครูใช้โปรแกรม GSP มาช่วยเป็นเกมการคิดเกม 108IQ กับเกม 24
กติกาใช้ บวก
ลบ คูณ หาร มาดำเนินการ
8 8 1
3 = 24
5 8 2
7 = 24
เกม 108IQ กติกาใช้ บวก
ลบ คูณ หาร และรากที่ 2
ยกกำลัง มาดำเนินการ
1 8 3
3 6 =
88
3 5 2
4 1 = 53
- นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นนำเสนอวิธีคิด
- ครูให้นักเรียนฝึกทำโจทย์การคิดจาก power point
|
||||
มาตรฐาน ค 6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล
การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์
และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ
ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ
และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ : ตัวชี้วัด ม.1/1, ม.1/2, ม.1/3, ม.1/4, ม.1/5, และ ม.1/6
|
..................................
Week
|
Input
|
Possess
|
Output
|
Outcome
|
2-5
|
โจทย์
การแปลงทางเรขาคณิต
Key Questions
- นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจอะไรบ้างเกี่ยวกับการแปลงทางเรขาคณิตฯ
- ให้นักเรียนสร้างรูปสามเหลี่ยม กำหนดจุด A(3,0) จุดB(5,4)
และจุด C(-1,6) รูปจะเป็นอย่างไร
- ให้นักเรียนสร้างรูปสามเหลี่ยม
กำหนดจุด A(3,0)
จุดB(5,4) และจุด C(-1,6) รูปจะเป็นอย่างไร
- กำหนดรูปสามเหลี่ยม ABC มีจุด A(3,0)
จุดB(5,4) และจุด C(-1,6) ให้วาดภาพรูปสามเหลี่ยม A’B’C’ ที่เกิดจากการเลื่อนขนานรูปสามเหลี่ยม
ABC ไปทางซ้าย 3 หน่วย และเลื่อนขึ้น
2 หน่วย รูปที่เกิดขึ้นจะเป็นอย่างไร
- กำหนดรูปสามเหลี่ยมABC ซึ่งมีจุด A(2,3)
, B(7,1) และจุด C(5,5) ให้เขียนรูปรูปสามเหลี่ยม
A’B’C’ ซึ่งเป็นรูปสะท้อนของรูปรูปสามเหลี่ยม ABC โดยมีแกนY เป็นแกนสะท้อน
รูปที่เกิดขึ้นจะเป็นอย่างไร
-
นักเรียนคิดว่าการแปลงทางเรขาคณิตเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวันเราอย่างไร
เครื่องมือคิด
Show and Share
- นำเสนอวิธีคิดเกี่ยวกับวิธีคิดการหาคำตอบการเลื่อนขนาน
/ การสะท้อน /การหมุน / การย่อ/ขยาย
-
นำเสนอความเข้าใจเกี่ยวกับชิ้นงานสรุปคณิต(ก่อนเรียน)
และความสำคัญของการเรียนรู้เกี่ยวกับการแปลงทางเรขาคณิต
Wall
Thinking ติดชิ้นงานความเข้าใจใบงาน / การ์ตูนช่อง / Mind
mapping
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ภาพเกี่ยวกับการเลื่อนขนาน
/ การสะท้อน /การหมุน / การย่อ/ขยาย
- กระดาษกราฟ / สมุดกราฟ
- โปรแกรม GSP
- เส้นเชือก /
แผ่นไม้ / กระจก
|
- ครูและนักเรียนร่วมทบทวนกิจกรรมเกี่ยวกับทบทวนการบ้านปิดเทอม
Flip classroom การแปลงทางเรขาคณิต
-
นักเรียนร่วมเล่าเกี่ยวกับความรู้เดิมที่เรียนผ่านมา
ครูยกตัวอย่างโจทย์เกมกิจกรรมเดิม
ทบทวนและเตรียมความพร้อมของผู้เรียน
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
“นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจอะไรบ้างเกี่ยวกับการแปลงทางเรขาคณิตฯ?” (หลังจากครูให้นักเรียนทุกคนสืบค้นข้อมูลมาก่อนหน้านี้)
- นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการแปลงทางเรขาคณิตฯ
- นักเรียนร่วมสอบถามความเข้าใจ นำเสนอเนื้อหาที่เพื่อนนำเสนอยังไม่ครบ
เพิ่มเติมเต็มเนื้อหาของนักเรียนแต่ละคนที่แตกต่างกัน
- ครูให้นักเรียนทุกคนสร้างชิ้นงานสรุปองค์ความรู้(ก่อนเรียน)
เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิตฯ
- นำเสนอชิ้นงาน
ถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นเรื่องการแปลง
- ครูทบทวนกิจกรรมเรื่องการสร้างกราฟ
โดยครูนำกระดาษกราฟมาให้นักเรียนลองวาดภาพตาม
-
ครูกำหนดโจทย์ปัญหาเรื่องกราฟให้นักเรียนลองกำหนดจุดลงในกระดาษตามคำตอบต่อไปนี้
“ให้นักเรียนสร้างรูปสามเหลี่ยม กำหนดจุด A(3,0) จุดB(5,4) และจุด C(-1,6) รูปจะเป็นอย่างไร?”
เชื่อม : ให้นักเรียนออกแบบชิ้นงานลงกระดาษกราฟของแต่ละคน
เพื่อให้มองเห็นรูปร่างที่ได้สร้างขึ้นว่ามีรูปร่างอย่างไร
-
นักเรียนแลกเปลี่ยนข้อมูลปรึกษาเพื่อนๆที่สร้างภาพจากความเข้าใจของแต่ละคน
-
นำเสนอรูปที่แต่ละคนสร้างรูปสามเหลี่ยมลงในกระดาษกราฟที่ครูให้ไป และเพื่อนๆตรวจเช็คคำตอบของเพื่อนจากชิ้นงาน
การเลื่อนขนาน
- ครูกำหนอโจทย์ปัญหาการคิดให้นักเรียน
“ให้นักเรียนเลื่อนรูปสามเหลี่ยม ABC ไปทางขาว 4 หน่วย รูปที่เกิดขึ้นจะเป็นอย่างไร?”
- ให้นักเรียนออกแบบชิ้นงานลงกระดาษกราฟของแต่ละคน
เพื่อให้มองเห็นรูปร่างที่ได้สร้างขึ้นว่ามีรูปร่างอย่างไร
-
นักเรียนแลกเปลี่ยนข้อมูลปรึกษาเพื่อนๆที่สร้างภาพจากความเข้าใจของแต่ละคน
-
นำเสนอรูปที่แต่ละคนสร้างรูปสามเหลี่ยมลงในกระดาษกราฟที่ครูให้ไป
และเพื่อนๆตรวจเช็คคำตอบของเพื่อนจากชิ้นงาน
- ครูให้โจทย์ให้นักเรียนสร้างชิ้นงานแก้ปัญหาโจทย์
“กำหนดรูปสามเหลี่ยม ABC มีจุด A(3,0) จุดB(5,4)
และจุด C(-1,6) ให้วาดภาพรูปสามเหลี่ยม A’B’C’
ที่เกิดจากการเลื่อนขนานรูปสามเหลี่ยม ABC ไปทางซ้าย
3 หน่วย และเลื่อนขึ้น 2 หน่วย
รูปที่เกิดขึ้นจะเป็นอย่างไร?”
การสะท้อน
- ครูกำหนอโจทย์ปัญหาการคิดให้นักเรียน
“ให้เขียนจุด P’ ซึ่งเป็นจุดที่เกิดจากการสะท้อนของจุด P ข้ามเส้นสะท้อน m
จุดที่เกิดขึ้นจะปรากฏในตำแหน่งใด?”
- ให้นักเรียนออกแบบชิ้นงานลงกระดาษกราฟของแต่ละคน
เพื่อให้มองเห็นรูปร่างที่ได้สร้างขึ้นว่ามีรูปร่างอย่างไร
-
นักเรียนแลกเปลี่ยนข้อมูลปรึกษาเพื่อนๆที่สร้างภาพจากความเข้าใจของแต่ละคน
-
นำเสนอรูปที่แต่ละคนสร้างรูปสามเหลี่ยมลงในกระดาษกราฟที่ครูให้ไป
และเพื่อนๆตรวจเช็คคำตอบของเพื่อนจากชิ้นงาน
- ครูให้โจทย์ให้นักเรียนสร้างชิ้นงานแก้ปัญหาโจทย์
“กำหนดรูปสามเหลี่ยมABC ซึ่งมีจุด A(2,3) , B(7,1) และจุด
C(5,5) ให้เขียนรูปรูปสามเหลี่ยม A’B’C’ ซึ่งเป็นรูปสะท้อนของรูปรูปสามเหลี่ยม ABC โดยมีแกนY
เป็นแกนสะท้อน รูปที่เกิดขึ้นจะเป็นอย่างไร?”
การหมุน
- ครูกำหนอโจทย์ปัญหาการคิดให้นักเรียน
“ให้นักเรียนเลื่อนรูปสามเหลี่ยม ABC ไปทางขาว 4 หน่วย รูปที่เกิดขึ้นจะเป็นอย่างไร?”
- ให้นักเรียนออกแบบชิ้นงานลงกระดาษกราฟของแต่ละคน
เพื่อให้มองเห็นรูปร่างที่ได้สร้างขึ้นว่ามีรูปร่างอย่างไร
|
ภาระงาน
- นักเรียนร่วมทบทวนกิจกรรมการเรียนรู้
เกี่ยวกับการแปลงทางเรขาคณิตฯ (หาข้อมูลมาแลกเปลี่ยนจากช่วงปิดเทอม)
-
นักเรียนนำเสนอความเข้าใจวิธีคิดที่นำเสนอต่อครูและเพื่อนๆ
- เรียนรู้การทำงานของโปรแกรมGSP และการเขียนรูปร่างลงในกระดาษกราฟ
-
ทำชิ้นงานการ์ตูน/ใบงานเกี่ยวกับการเลื่อนขนาน / การสะท้อน
/การหมุน / การย่อ/ขยาย
- สรุปการเรียนรู้ในหน่วยการแปลงทางเรขาคณิต
ชิ้นงาน
- ใบงานเกี่ยวกับแปลงทางเรขาคณิต
-
สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการแปลงทางเรขาคณิต
-
สร้างชิ้นงานถ่ายทอดความเข้าใจ(นิทานช่อง, ชาร์ต, Mind mapping ฯลฯ)
|
ความรู้
นักเรียนเข้าใจและสามารถสื่อสารและนำเสนอโดยการอธิบายลักษณะการแปลง
อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างรูปต้นแบบและรูปที่ได้จากการเลื่อนขนาน การสะท้อน
การหมุน การขยายและการย่อ ได้
และนักเรียนสามารถแก้ปัญหา บอกพิกัดของรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการเลื่อนขนาน การสะท้อน
การหมุน
การขยายและการย่อบนระนาบพิกัดฉากได้
สามารถเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ โดยนำสมบัติเกี่ยวกับการเลื่อนขนาน การสะท้อน
การหมุน การขยายและการย่อไปใช้ได้
ทักษะ
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
- ทักษะการให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการเห็นแบบรูป
- ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
-
สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
- มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
|
Week
|
Input
|
Possess
|
Output
|
Outcome
|
-
นักเรียนแลกเปลี่ยนข้อมูลปรึกษาเพื่อนๆที่สร้างภาพจากความเข้าใจของแต่ละคน
- นำเสนอรูปที่แต่ละคนสร้างรูปสามเหลี่ยมลงในกระดาษกราฟที่ครูให้ไป
และเพื่อนๆตรวจเช็คคำตอบของเพื่อนจากชิ้นงาน
- ครูให้โจทย์ให้นักเรียนสร้างชิ้นงานแก้ปัญหาโจทย์
“กำหนดรูปสามเหลี่ยม ABC มีจุด A(3,0) จุดB(5,4)
และจุด C(-1,6) ให้วาดภาพรูปสามเหลี่ยม A’B’C’
ที่เกิดจากการเลื่อนขนานรูปสามเหลี่ยม ABC ไปทางซ้าย
3 หน่วย และเลื่อนขึ้น 2 หน่วย
รูปที่เกิดขึ้นจะเป็นอย่างไร?”
*ส่วนในเนื้อหาการย่อ
/ ขยาย
เกมการคิดทางคณิตฯ นักเรียนและคุณครูรวมเรียนรู้ผ่านกิจกรรมGSP สร้างสรรค์ฝึกการ สร้างรูปเรขาคณิตฯ
- ครูฝากคำถามกระตุ้นการคิด
“นักเรียนคิดว่าการแปลงทางเรขาคณิตเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวันเราอย่างไร?”
|
||||
มาตรฐาน ค 3.2 เข้าใจเกี่ยวกับการแปลง (transformation)
ทางเรขาคณิตในเรื่องการเลื่อนขนาน
(translation)
การสะท้อน (reflection) และการหมุน (rotation) และนำไปใช้ได้: ตัวชี้วัด ม.1/1
มาตรฐาน ค 3.2 บอกภาพที่เกิดขึ้นจากการเลื่อนขนาน
การสะท้อน และการหมุนรูปต้นแบบ และสามารถอธิบาย
วิธีการที่จะได้ภาพที่ปรากฏ
เมื่อกำหนดรูปต้นแบบ และภาพนั้นให้:
ตัวชี้วัด ม.1/2
ต่างๆ ได้มาตรฐาน ค 6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา
การให้เหตุผล การสื่อสาร
การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ
การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ
และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ :
ตัวชี้วัด ม.1/1, ม.1/2, ม.1/3, ม.1/4, ม.1/5, และ
ม.1/6
|
……………………..
Week
|
Input
|
Possess
|
Output
|
Outcome
|
6-7
|
โจทย์
เศษส่วนกับทศนิยม
Key Questions
-นักเรียนคิดว่าถ้าหากเราเปรียบเทียบเศษส่วนกับทศนิยมต่อไปนี้มีค่าเท่าไร
- ดิวกับพิมพ์มีเงิสรวมกัน 500 บาท ถ้าดิวให้เงินพิมพ์อีก 10 บาท
ดิวจะมีเงินมากกว่าพิมพ์ 10 บาท จงหาว่าเดิมดิวมีเงินกี่บาท
- นักเรียนคิดว่าการเปรียบเทียบเศษส่วนกับทศนิยมผ่านแผนภาพ
จะออกแบบวิธีคิดอย่างไรได้บ้าง
- นักเรียนคิดว่าการเรียนรู้เรื่องเศษส่วนกับทศนิยมมีความเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันเราอย่างไรบ้าง
เครื่องมือคิด
Show and Share
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- เส้นตารางเปรียบเทียบเศษส่วนและทศนิยม
- คอมพิวเตอร์ GSP
- แผนชาร์ตชนิดของรูปเศษส่วนและทศนิยม
|
- ครูให้นักเรียนแชร์ความรู้เดิมที่เรียนผ่านมา
พร้อมกับครูยกตัวอย่างโจทย์เกมกิจกรรมเดิม
“ดิวกับพิมพ์มีเงิสรวมกัน 500 บาท ถ้าดิวให้เงินพิมพ์อีก 10 บาท
ดิวจะมีเงินมากกว่าพิมพ์ 10 บาท จงหาว่าเดิมดิวมีเงินกี่บาท?” ทบทวนและเตรียมความพร้อมของผู้เรียน ฝึกโจทย์ทักษะการคิด
- ครูพานักเรียนเล่นเกม ‘อะไรที่หายไปจากรูปร่างแสนกล’
- นักเรียนเล่นเกม ฝึกการคิดเชื่อมโยงสู่ความรู้เดิมของแต่ละคน
-
ร่วมสรุปถ่ายทอดสิ่งที่ได้เรียนรู้จากเกมการคิดเกี่ยวกับพื้นที่ดังกล่าว
-
นักเรียนออกแบบเกมกิจกรรมการเล่น เกี่ยวกับเศษส่วนกับทศนิยมให้น้องหรือผู้อื่นสามารถเล่นและร่วมเรียนรู้ไปด้วยกันได้
- ครูกระตุ้นด้วยคำถามการคิด
“นักเรียนคิดว่าถ้าหากเราเปรียบเทียบเศษส่วนกับทศนิยมต่อไปนี้มีค่าเท่าไร?”
- นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นและนำเสนอวิธีคิดต่างๆ
- เพื่อนๆ
และครูผู้สอนช่วยกันร่วมอภิปรายวิธคิดที่แตกต่าง
ร่วมตั้งคำถามเพื่อให้เพื่อนที่นำเสนอได้อธิบายสิ่งที่ได้เรียนรู้
-
นักเรียนร่วมสอบถามความเข้าใจหลักการใช้เรียกชื่อของนักเรียนแต่ละคนที่แตกต่างกัน
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
“นักเรียนคิดว่าการเปรียบเทียบเศษส่วนกับทศนิยมผ่านแผนภาพ
จะออกแบบวิธีคิดอย่างไรได้บ้าง?”
- นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นและสืบค้นคว้าข้อมูล
เพื่อนำข้อมูลมากระทำข้อมูลนำเสนอร่วมกัน
- เพื่อนๆ
และครูผู้สอนช่วยกันร่วมอภิปรายวิธคิดที่แตกต่าง
ร่วมตั้งคำถามเพื่อให้เพื่อนที่นำเสนอได้อธิบายสิ่งที่ได้เรียนรู้
-
นักเรียนร่วมสอบถามความเข้าใจกระบวนการคิดของนักเรียนแต่ละคนที่แตกต่างกัน
- ใบงานเกี่ยวกับการเปรียบเทียบเศษส่วนกับทศนิยมผ่านแผนภาพ
-
ใบงานแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วนกับทศนิยม
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
“นักเรียนคิดว่าการเรียนรู้เรื่องเศษส่วนกับทศนิยมมีความเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันเราอย่างไรบ้าง?”
- นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความเชื่อมโยงของการเรียนรู้กับการดำเนินชีวิตประจำวันของแต่ละคน
- เพื่อนๆ
และครูผู้สอนช่วยกันร่วมอภิปรายวิธคิดที่แตกต่าง
ร่วมตั้งคำถามเพื่อให้เพื่อนที่นำเสนอได้อธิบายสิ่งที่ได้เรียนรู้
- นักเรียนออกแบบชิ้นงานที่ถ่ายทอดความเขาใจเกี่ยวกับทศนิยมกับเศษส่วนเกี่ยวข้องอย่างไรบ้างกับวิถีชีวิตของแต่ละคน
-
สรุปความเข้าใจลงสมุดทดคิดของนักเรียนแต่ละคน
-
สร้างชิ้นงานถ่ายทอดความเข้าใจ(นิทานช่อง , ชาร์ต, Mind mapping ฯลฯ)
|
ภาระงาน
-
นักเรียนร่วมทบทวนกิจกรรมการเรียนรู้ เกี่ยวกับโจทย์การคิดและการแปลงทางขาคณิต
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการคิดในรูปแบบที่หลากหลายและสร้างสรรค์
- สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับเศษส่วนและทศนิยม
(ทบทวน)
- ทำชิ้นงานเกี่ยวกับเศษส่วนกับทศนิยม
ชิ้นงาน
- ใบงานเกี่ยวกับการเปรียบเทียบเศษส่วนกับทศนิยม
- การแก้โจทย์ปัญหาทศนิยมกับเศษส่วน
- สรุปองค์ความรู้ตามรูปแบบชิ้นงานที่หลากหลาย
|
ความรู้
เข้าใจและสามารถสื่อสาร
นำเสนอและเชื่อมโยงในการบวก ลบ คูณและหารเศษส่วนได้ สามารถแก้ปัญหาให้เหตุผล
มีความคิดสร้างสรรค์ในการนำความรู้เรื่องการบวก ลบ คูณและหารเศษส่วนไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริงได้
และสามารถสื่อสาร นำเสนอและเชื่อมโยงในการบวก ลบ คูณ และหารทศนิยมได้
สามารถแก้ปัญหา ให้เหตุผล มีความคิดสร้างสรรค์ในการนำความรู้เรื่องการบวก ลบ คูณ
และหารทศนิยมไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริงได้
ทักษะ
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
- ทักษะการให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการเห็นแบบรูป
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
- มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
|
มาตรฐาน ค 1.2 บวก ลบ คูณ และหารจำนวนเต็ม เศษส่วน ทศนิยม
เลขยกกำลัง และนำไปใช้แก้ปัญหาได้:
ตัวชี้วัด ม.1/1มาตรฐาน ค 6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล
การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์
และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ
ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ
และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ : ตัวชี้วัด ม.1/1, ม.1/2, ม.1/3, ม.1/4, ม.1/5, และ ม.1/6
|
“””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””
Week
|
Input
|
Possess
|
Output
|
Outcome
|
8-9
|
โจทย์
การนำเสนอข้อมูล(2)
Key Question
นักเรียนคิดว่าเราสามารถรวบรวมข้อมูลมาสร้างเป็นรูปแบบการนำเสนอที่หลากหลายได้อย่างไร
เครื่องมือคิด
- Show and Share
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
-
แผ่นโจทย์ฝึกทักษะการคิดทางคณิตฯ
- แผนภาพแบบเปรียบเทียบข้อมูลที่หลากหลาย
- แผนภูมิรูปภาพและแผนภูมิแท่ง
- แผนภูมิรูปวงกลม
|
-
ครูให้นักเรียนดูตัวอย่างนำเสนอที่มีอยู่หลากหลายรูปแบบ เช่น
แบบการเปรียบเทียบข้อมูล
การนำเสนอข้อมูลด้วยแผนภูมิ
รูปภาพและแผนภูมิแท่ง
การนำเสนอข้อมูลด้วยแผนภูมิวงกลม
-
ร่วมกันอภิปรายความเข้าใจของแต่ละคนให้ครูและเพื่อนๆ ร่วมกันตั้งคำถามข้อสงสัย
- สืบค้นข้อมูล
เพื่อหารูปแบบการนำเสนอข้อมูลที่หลากหลาย
-
เขียนความเข้าใจลงในสมุดคณิตศาสตร์
และรวบรวมข้อมูลลงชาร์ตความรู้เกี่ยวกับรูปแบบการนำเสนอ ด้วยวิธีการที่หลากหลาย
- นักเรียนทุกคนเขียนสรุปองค์ความรู้ในTopic
|
ภาระงาน
- แสดงความคิดเห็น
- ออกแบบรูปแบบการนำเสนอข้อมูล
-
ทำชิ้นงานสรุปความเข้าใจการนำเสนอข้อมูล
- นักเรียนแก้โจทย์ปัญหาสถานการณ์
ชิ้นงาน
- ออกแบบรูปแบบการนำเสนอข้อมูล
-
สรุปเนื้อหาความเข้าใจการนำเสนอข้อมูล
- สรุปองค์ความรู้ในTopic
|
ความรู้
การสื่อสารโดยบอกความหมายของข้อมูลและการนำเสนอข้อมูลและเชื่อมโยงความรู้อ่านตารางนำเสนอข้อมูล
ทักษะ
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
- ทักษะการให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการเห็นแบบรูป
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
-
สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้
-
มีวินัยและความรับผิดชอบ
-
มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
-
การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
|
มาตรฐาน ค 5.1 เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล : ตัวชี้วัด ม.1/3-4
มาตรฐาน ค 6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร
การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ
ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ
และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ : ตัวชี้วัด ม.1/1, ม.1/2, ม.1/3, ม.1/4, ม.1/5, และ ม.1/6
|
การสอนคณิตศาสตร์ที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา : การสอนคณิตศาสตร์เพื่อมุ่งให้เกิดทักษะที่สำคัญ ได้แก่ ทักษะการแก้ปัญหา (Problem Solving), ทักษะการมองเห็นภาพหรือรูปแบบที่ซ่อนอยู่ (Patterning), ทักษะการคิดสร้างสรรค์และการให้เหตุผล (Creative Thinking and Reasoning) และทักษะการสื่อสาร (Communication) เพื่อให้เกิดความร่วมมือและพบวิธีหรือคำตอบเอง (Meta cognition)
การสอนจึงให้ความสำคัญที่เข้าใจความคิดรวบยอดก่อน และค้นหาวิธีที่หลากหลายร่วมกัน วิธีการที่ได้จึงเป็นคำตอบที่สำคัญกว่าคำตอบจริงๆ โดยใช้ขั้นของการสอนดังนี้
ชง หมายถึง ขั้นที่ครูตั้งคำถาม ตั้งโจทย์ หรือโยนปัญหาให้ผู้เรียนได้เผชิญ ผู้เรียนจะได้คิดและการลงมือปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหานั้นด้วยตนเอง
เชื่อม หมายถึง การนำเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนวิธีแก้โจทย์ปัญหาของแต่ละคน ครูไม่จำเป็นต้องตัดสินว่าวิธีใดถูกหรือผิด เพราะสุดท้ายเมื่อมีการแลกเปลี่ยนกันมากขึ้นนักเรียนแต่ละคนจะเห็นมุงมองที่หลากหลาย เห็นช่องโหว่ของบางวิธี ได้ตรวจสอบวิธีแต่ละวิธี และในที่สุดจะรู้คำตอบเอง สามารถเลือกวิธีการแก้ปัญหาที่ตัวเองเข้าใจไปใช้ได้ นี่เป็นทักษะของการรู้ตัว รู้ว่าตัวเองรู้หรือไม่รู้(Meta cognition) เป็นทักษะที่จะนำไปสู่การพัฒนาตนเองต่อไป ในขั้นนี้ครูแค่ตั้งคำถาม “ใครได้คำตอบแล้ว?” “มีวิธีคิดอย่างไร?” “ใครมีวิธีอื่นบ้าง?” “คุยกับเพื่อนว่าเห็นอะไรที่คล้ายกันหรือแตกต่างกันบ้าง” ครูที่เก่งจะไม่ผลีผลามบอกคำตอบแต่จะเอื้ออำนวยให้ผู้เรียนพบคำตอบ คำตอบที่เราต้องการจริงคือวิธีการ ในขั้นตอนนี้ ผู้เรียนจะได้พัฒนาทักษะทั้งหมด ทั้งทักษะการแก้ปัญหา (Problem Solving), ทักษะการมองเห็นภาพหรือรูปแบบที่ซ่อนอยู่ (Look for the Pattern), ทักษะการคิดสร้างสรรค์และการให้เหตุผล (Creative Thinking and Reasoning) และ ทักษะการสื่อสาร(Communication) เพื่อให้เกิดความร่วมมือและพบวิธีหรือคำตอบเอง (Meta cognition)
ใช้ หมายถึง ขั้นของการให้โจทย์ใหม่ที่คล้ายกัน หรือยากขึ้น หลังจากที่ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาจากขั้นตอนที่ 2 แล้ว เพื่อให้นักเรียนแต่ละคนได้ประลองเอง จะได้สร้างความเข้าใจให้คมชัดขึ้น ครูจะได้ตรวจสอบอีกรอบว่าเด็กแต่ละคนเข้าใจมากน้อยเพียงใด